คำย่อ ความหมาย ข้อมูลไมโครคอนโทรลเลอร์

วันที่โพสต์: Apr 08, 2010 9:46:21 AM

คำย่อ ความหมาย ข้อมูลไมโครคอนโทรลเลอร์

ALU : Arithmmetic Logic unit  เป็นวงจรชุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายในของไมโครโปรเซสเซอร์ ที่ทำหน้าที่ บวก ลบ AND OR และเปรียบเทียบ และเพิ่ม ลด ค่าของข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามาได้

Baud Rate อัตราบอด (Baud Rate) คือ จำนวนของสัญลักษณ์ (Symbols หรือ Signal Units) ที่ส่งได้ใน 1 หน่วยเวลา (1 วินาที) โดยที่ สัญลักษณ์แต่ละหน่วย สามารถใช้นำเสนอข้อมูลได้ตั้งแต่ 1 บิตขึ้นไป ในการสื่อสารมักใช้ Baud Rate เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างจุดสองจุด และพิจารณา Bandwidth ที่จำเป็นในการส่งสัญญาณ 

CISC : Complex Instruction Set Computer เป็นการออกแบบโปรเซสเซอร์ ที่มีคำสั่งมาก และแต่ละคำสั่งมีการทำงานหลายขั้นตอน ทำให้ใช้เวลาต่อคำสั่งมาก แต่ครอบคลุมความต้องการของการใช้งานมากกว่า 

EEPROM :  Electrically Erasable Programmable ROM คือ ROM ที่สามารถลบข้อมูลได้ด้วยไฟฟ้า EEPROM ทำงานเหมือนทั้ง RAM+ROM คือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ถึงแม้ไฟเลี้ยงจะดับไปแล้วก็ตาม 

EPROM : Erasable Programmable Rom คือ ROM ที่สามารถโปรแกรมได้ใหม่ โดยการลบข้อมูลเดิม ด้วยแสงอัลตราไวโอเลต (UV) 

Flash Memory คือ หน่วยความจำประเภท EEPROM ที่ได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงขึ้น สามารถมีขนาดของหน่วยความจำมากกว่า EEPROM มาก และที่สำคัญคือ Flash Memory สามารถลบข้อมูเป็นกลุ่ม (Block) ได้ แต่ EEPROM ต้องลบข้อมูลทั้งหมดของหน่วยความจำเมื่อต้องการลบข้อมูลแม้บิตเดียวก็ตาม หน่วยความจำ Flash Memory เป็นทีนิยมมากในปัจจุบัน 

Harvard Architecture เป็นสถาปัตยกรรมที่แก้ปัญหาจุดอ่อนของ Von Neumann โดยได้แยกหน่วยความจำที่เก็บส่วนของโปรแกรม (Program Memory ) และ หน่วยความจำที่เก็บข้อมูล (Data Memory) ออกจากกัน และสามารถมีขนาดของข้อมูล (Data Word) ต่อตำแหน่ง (Address) ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เช่น ส่วนของโปรแกรมมีขนาด 16 บิต แต่ ส่วนของข้อมูล 8 บิต เป็นต้น 

IAP In-Application Programming ความสามารถในการโปรแกรมลงบนไมโครคอลโทรลเลอร์ ขณะที่โปรแกรมกำลังทำงาน โดยผ่านซอร์ฟแวร์ Boot Loader ที่บรรจุอยู่ภายใน

IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineer) คือ สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสถาบันวิชาชีพระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่ดูแลเทคโนโลยีเกี่ยวกับไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์โดยกำกับดูแลมาตรฐานทางการไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนามาตรฐานในด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไว้หลากหลายด้าน ซึงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก

ISP In-System Programming ความสามารถในการโปรแกรมในวงจร โดยไม่ต้องถอดชิปไมโครคอลโทรลเลอร์ มาโปรแกรมภายนอก

I2C  รูปแบบการติดต่อระบบบัสแบบ 2 สายสัญญาณ โดยมี SDA ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ ในขณะที่ SCL ทำหน้าที่กำหนดจังหวะการสื่อสาร โดยสามารถถ่ายทอดสัญญาณได้สูงสุด 400 กิโลบิต ต่อวินาที

GoodLink สภาวะการต่ออย่างสมบูรณ์

Mask ROM (MROM) : เป็น ROM ชนิดหนึ่ง ที่ถูกโปแกรมมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ซึ่งคำว่า "Masked" มาจากคำว่า 

manufacturing process ซึ่งเหมือนกับการสวมหน้ากาก ปกปิดข้อมูลเอาไว้นั่นเอง

Micro computer : ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นระบบเครื่องคำนวณขนาดเล็็ก ที่ประกอบด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ ที่ทำหน้าที่เป็น CPU และหน่วยอินพุต เอาท์พุต และหน่วยความจำ

One Time Programmable ROM (ROM OTP) :  ROM ที่สามารถโปรแกรมได้เพียงครั้งเดียว แล้วถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดในการดาวน์โหลดโปรแกรมลงบน ROM แล้ว คุณไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ นอกเสียจากไปโหลดโปรแกรมลงบนชิปตัวอื่น

Parasite Power Mode เป็นการทำงานโดยไม่ใช้ไฟเลี้ยง แต่ใช้พลัีงงานจากสายสัญญาณ พบเห็นมากในการส่งสัญญาณแบบ 1 wire มีประโยชน์มากในการวัดสัญญาณระยะไกลๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟเลี้ยงไปที่อุปกรณ์นั้นๆ 

#pragma   เป็น pre prccessor ชนิดหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบอก compiler ว่า code/ram ส่วนนี้จะไปอยู่ ตรงส่วนใหนของไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งปกติ หน่วยความจำจะถูกแยก ออกเป็นส่วนย่อยหลายๆส่วน (MPLAB C18)

RTOS : Real Time Operating System 

RAM : Random Access Memory คือหน่วยความจำที่มีการเข้าถึงได้ โดยไม่ต้องใส่ลำดับ (Sequential Access) ต้องการข้อมูล ที่ตำแหน่งใดก็ได้ โดยส่ง Address (ตัวเลขระบุตำแหน่ง) ให้กับ RAM 

RISC : Reduced Instruction Set Computer เป็นการออกแบบโปรเซสเซอร์ที่เน้าให้มีจำนวนคำสั่งน้อย โดยมีการทำงานของ 1 คำสั่งใช้สัญญาณนาฬิกา (Clock Cycle) น้อยที่สุด 1 ชุดเท่านั้น ซึ่งทำให้การประมวลผลโดยรวมเร็วมาก

SPI : serial peripheral interface เป็นรูปแบบการสื่อสารระบบบัส ในรูปแบบการสื่อสารอนุกรม โดยใช้ตัวนำในการสื่อสาร 3 - 4 ตัวนำ แต่โดยทั่วไป จะใช้ 3 ตัวนำ เป็นการเชื่อต่อแบบ Full-duplex นั่นหมายความว่า สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาพร้อมกันได้

WDT : Watch Dog timer คือ มีหน้าที่รีเซ็ทไมโครคอนโทรลเลอร์ มี free running oscillator แบบ RC แยกอิสระจากสัญญาณนาฬิกาของระบบ ทำให้ทำงานอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ใน sleep mode เมื่อสั่งให้ WatchDog timer ทำงานแล้ว Watch Dog timer จะเริ่มนับค่าเวลาจนถึงที่ตั้งไว้ แล้วจะส่งสัญญาณไปรีเซ็ท MCU ฉะนั้น MCU จะต้องเคลียร์ค่าใน WatchDog ตลอดเวลา

UART - Universal Asynchronour Receiver Transmitter โมดูลการเชื่อมต่อผ่านพอร์ตอนุกรมกับคอมพิวเตอร์